แตงกวา

แตงกวา (ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cucumis Sativus) เป็นผลของไม้เลื้อยที่มีหลายพันธุ์ต่างกันตามถิ่นกำเนิด ไม่ได้มีแต่เพียงแตงสีเขียว รูปทรงรียาว บางสายพันธุ์ก็สั้น กลม มีเปลือกหนา ผิวขรุขระ สีเหลือง สีส้ม หรือสีขาวแตกต่างกันไป คนนิยมรับประทานแตงกวาทั้งแบบแตงกวาสด หรือนำไปปรุงสุกประกอบอาหารชนิดต่าง ๆ

นอกจากรสชาติและความฉ่ำน้ำน่ารับประทานของแตงกวาแล้ว สารอาหารต่าง ๆ ในแตงกวาอาจเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้ด้วย เช่น

เส้นใยอาหาร แตงกวาเป็นแหล่งของเส้นใยอาหารที่อาจบำรุงระบบขับถ่าย และอาจช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีได้
สารพฤกษเคมี หรือไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytochemicals) เป็นสารตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ซึ่งในแตงกวามีสารชนิดนี้ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) คิวเคอร์บิทาซิน (Cucurbitacin) และลิกแนน (Lignan)
สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) เป็นสารที่เชื่อว่าอาจมีฤทธิ์ช่วยลดหรือกำจัดสารอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น เบต้าแคโรทีน แมงกานีส
วิตามิน ในแตงกวาอุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ ที่ให้พลังงานและเป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย อย่างวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี
แร่ธาตุ แตงกวามีแร่ธาตุหลายชนิดที่อาจเป็นผลดีต่อสุขภาพผิวและระบบหมุนเวียนโลหิตได้ เช่น ซิลิกอน โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เป็นต้น
แม้จะมีความเชื่อและสมมติฐานมากมายเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของแตงกวา แต่ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ในด้านประสิทธิผลต่อสุขภาพ การรักษา หรือกระทั่งการป้องกันโรคยังคงมีจำกัด และไม่สามารถยืนยันถึงประสิทธิภาพในด้านใดด้านหนึ่งได้อย่างชัดเจน ดังนั้น ผู้บริโภคควรระมัดระวังและศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการบริโภคหรือการใช้สารสกัดใด ๆ จากแตงกวา

 

– ระยะเวลาในการปลูกใช้เวลา 25-30 วัน
– สามารถเก็บผลผลิตได้ในวันที่ 35-40 วันของการปลูก
– สรรพคุณ ช่วยขับสารตกค้างและสารพิษในร่างกาย, ช่วยส่งเสริมระบบไหลเวียนโลหิตให้เป็นไปอย่างปกติ,
ช่วยลดโอกาสไขมันเกาะเส้นเลือดให้เราได้