ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์เบอร์ 1  

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์
ชนิด/ประเภท ถั่วแขกสำหรับบริโภค ชื่อวิทยาศาสตร์Phaseolus vulgaris L.
ต้นลักษณะการเจริญเติบโตแบบขึ้นค้าง(indeterminate)
ใบ ใบเป็นแบบสามเลี่ยม (deltoid) ใบมีสีเขียวใบย่อยส่วนปลายมีความกวางใบ  10.5เซนติเมตร                                                                                                                              และความยาว 13.25 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียว ดานหลังใบและท้องใบมีขนเล็กน้อย (pubescent)
ดอก/ช่อดอก ตำแหน่งของดอกแรกบานพบข้อที่ 4-5 สีกลีบคู่ข้าง(color of wings) และสีกลีบกลาง(color
of standard) สีขาว(white)
ฝักและเมล็ดฝักสด(fresh pod color) สีเหลือง (purple) รูปร่างปลายฝัก(pod shape bottom end) แหลม
(acute) ขนาดความยาวฝักประมาณ 16.50 เซนติเมตร ความกว้างฝักประมาณ 0.89
เซนติเมตร น้ำหนักฝักประมาณ 8.17 กรัม ลักษณะฝักโคงเล็กน้อย(slight curved)                                                                                                                                                ความหนาเนื้อ 0.97 มิลลิเมตรผิวฝักเรียบ(smooth) รูปร่างเมล็ดเป็นรูปไต(kidney shape) เมล็ดมีสีขาว สีขั้วเมล็ดสีครีม                                                                                    จำนวนเมล็ดต่อฝัก 8-10 เมล็ดน้ำหนัก100 เมล็ด 21.98 กรัม

 

แหล่งที่มา/ประวัติ                                                                            ถั่วแขกสีเหลือง ได้จากการผสมข้ามระหว่างถั่วแขกสายพันธุ์แม่ CMB 002 กับสายพันธ์ุพ่อ CMB001 ซึ่งเป็นพันธุกรรมจากแหล่งรวบรวมพันธุ์ถั่วแขกของสาขาพืชผักกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ลักษณะสายพันธุ์แม่ (CMB001) เป็นถั่วแขกเลื้อย ฝักกลม สีเขียว ให้ผลผลิตสูง ออกดอกเร็ว ส่วนสายพันธุ์พ่อ (CMB002)เป็นถั่วแขกพันธุ์พุ่ม ฝักกลมปลายเรียวแหลม ฝักมีสีเหลืองผลผลิตต่ำ ทำการผสมข้ามพันธุ์เมื่อปี 2551 ณ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ปลูกคัดเลือกจำนวน 7 รอบ ไดถั่วแขกที่มีลักษณะคงที่ทางพันธุกรรม จากน้ันทําการปลูกทดสอบรวมกับสายพันธุ์อื่นๆเพื่อเก็บข้อมูลลักษณะประจําพันธุ์ณมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปี 2557 – 2558 ได้นำไปปลูก ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อ.แม่สาย จ.เชียงราย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามมุงกุฎราชกุมารีทรงเสด็จทอดพระเนตรในวนทั ี่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 และทรงพระราชทานนามว่า “ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์เบอร์ 1”

– ระยะเวลาในการปลูกและเก็บผลผลิต
ระยะเวลาในการปลูกใช้เวลา 50-60 วัน
สามารถเก็บผลผลิตได้ในวันที่ 60-70 วันของการปลูก

– สรรพคุณ
เมล็ดถั่วแขกนำมาต้มรับประทาน ทำซุปถั่วแขก หรือใช้ผสมในขนมหวานต่างๆเมล็ดถั่วแขกนำมาบดสำหรับทำแป้งเพื่อใช้ทำวุ้นเส้นหรือขนมหวาน

– ข้อควรระวัง
1. ถั่วแขกมีส่วนประกอบของสารออกซาเลต หากทานทานถั่วแขกในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้เพียงพออย่างที่ต้องการ
2. เลคตินเป็นส่วนประกอบที่พบอยู่ในถั่วแขก ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายต้องการ แต่หากทานในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ทำให้ถ่ายท้อง คลื่นไส้ และอาเจียนได้
3. กรดไฟติกในถั่วแขก เป็นกรดที่จะช่วยให้ร่างกายป้องกันการดูดซึมของแร่ธาตุที่ร่างกายควรจะได้รับ ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาภาวะแร่ธาตุไม่เพียงพอ อาจปรึกษาแพทย์ก่อนทาน