ถั่วแขกสีม่วง สิรินธร เบอร์ 1

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ลักษณะเป็นถั่วแขกที่ได้จากการผสมระหว่าง ถั่วแขกพันธุ์เลื้อยสีเขียว กับถั่วแขกพันธุ์พุ่มเตี้ยฝักสีม่วง จนได้พันธุ์ที่มีลักษณะเป็นถั่วแขกพันธุ์เลื้อยฝักสีม่วง
แหล่งที่มา/ประวัติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงพระราชทานชื่อถั่วแขกสีม่วง “ถั่วแขกสีม่วง สิรินธร เบอร์ 1” ผลงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉันทนา วิชรัตน์ และคณะ

ถั่วแขกพันธุ์ดังกล่าวได้จากการผสมข้ามระหว่างถั่วแขกสายพันธุ์แม่ CMB001 กับสายพันธุ์พ่อ CMB013 ซึ่งเป็นพันธุกรรมจากแหล่งรวบรวมพันธุ์ถั่วแขกของสาขาพืชผัก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลักษณะสายพันธุ์แม่จะเป็นถั่วแขกเลื้อย ฝักกลม สีเขียว ให้ผลผลิตสูง ออกดอกเร็ว ส่วนสายพันธุ์พ่อ เป็นถั่วแขกพันธุ์พุ่ม ฝักกลม ปลายเรียวแหลม ฝักมีสีม่วงเข้ม ผลผลิตต่ำ ทำการผสมข้ามเมื่อปี พ.ศ. 2551 ณ สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ปลูกคัดเลือกจำนวน 7 รอบ ได้ถั่วแขกที่มีลักษณะคงที่ทางพันธุกรรม จากนั้นทำการปลูกทดสอบรวมกับสายพันธุ์อื่น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. 2557 – 2558 ได้นำไปปลูก ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อ.แม่สาย จ.เชียงราย อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อไปว่า
“ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1” เป็นถั่วแขกสำหรับบริโภค ต้น มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบขึ้นค้าง ใบ เป็นแบบสามเหลี่ยม ใบมีสีเขียวแต้มม่วง ใบย่อยส่วนปลายมี ความกว้าง 10.5 เซนติเมตร และยาว 13.25 เซนติเมตร ก้านใบมีสีม่วง ด้านหลังใบและท้องใบมีขนเล็กน้อย ดอก/ช่อดอก มีตำแหน่งข้อที่ดอกแรกบานพบข้อที่ 4 – 5 สีกลีบคู้ข้างและสีกลีบกลางมีสีม่วง ฝักและเมล็ด มีลักษณะเป็นฝักสดสีม่วง รูปร่างปลายฝักแหลม มีความยาวประมาณ 14.50 เซนติเมตร มีความกว้างฝักประมาณ 0.89 เซนติเมตร น้ำหนักฝักประมาณ 8.17 กรัม ลักษณะฝักโค้งเล็กน้อย มีความหนาเนื้อ 0.97 มิลลิเมตร ผิวฝักเรียบ รูปร่างเมล็ดเป็นรูปไต เมล็ดมีสีครีมลายกระ สีขั้วเมล็ดสีครีม จำนวนเมล็ดต่อฝัก 8 – 10 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ดเท่ากับ 21.98 กรัม มีอายุการเก็บเกี่ยวเพียง 45 วัน
– ระยะเวลาในการปลูกและเก็บผลผลิต
ระยะเวลาในการปลูกใช้เวลา 50-60 วัน
สามารถเก็บผลผลิตได้ในวันที่ 60-70 วันของการ
– สรรพคุณ เมล็ดถั่วแขกนำมาต้มรับประทาน ทำซุปถั่วแขก หรือใช้ผสมในขนมหวานต่างๆเมล็ดถั่วแขกนำมาบดสำหรับทำแป้งเพื่อใช้ทำวุ้นเส้นหรือขนมหวาน
– ข้อควรระวัง
1. ถั่วแขกมีส่วนประกอบของสารออกซาเลต หากทานทานถั่วแขกในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้เพียงพออย่างที่ต้องการ
2. เลคตินเป็นส่วนประกอบที่พบอยู่ในถั่วแขก ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายต้องการ แต่หากทานในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ทำให้ถ่ายท้อง คลื่นไส้ และอาเจียนได้
3. กรดไฟติกในถั่วแขก เป็นกรดที่จะช่วยให้ร่างกายป้องกันการดูดซึมของแร่ธาตุที่ร่างกายควรจะได้รับ ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาภาวะแร่ธาตุไม่เพียงพอ อาจปรึกษาแพทย์ก่อนทาน


