ถั่วฝักยาวสีม่วง สิรินธร เบอร์ 1 

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ชนิด/ประเภท ถั่วฝักยาวสำหรับบริโภค

ต้น ลักษณะการเจริญเติบโตแบบขึ้นค้าง (indeterminate)

ใบ รูปหอกใบค่อนข้างกว้าง (ovate-lanceolate) ขนาดใบย่อย ส่วนปลายความกว้างใบ 11.14 เซนติเมตร ความยาวใบ 17.16 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียว

ฝักและเมล็ด ฝักสดเป็นสีม่วงอมแดง สีปลายฝักเป็นสีเขียว ปลายฝักมีลักษณะมน (obtuse) ความยาวฝักประมาณ 58.39 เซนติเมตร ความกว้างฝักประมาณ 0.65 เซนติเมตร น้ำหนักฝักประมาณ 20.19 กรัม ความหนาเนื้อประมาณ 0.13 มิลลิเมตร ผิวฝักมีลักษณะย่น (wrinkle) รูปร่างเมล็ดเป็นรูปไต (kidney shape) สีเมล็ดแดงลายขาว สีขั้วเมล็ดสีขาวหรือสีครีม (white or cream) เมล็ดมีจำนวน 11.56 เมล็ดต่อฝัก น้ำหนัก 100 เมล็ด เท่ากับ 23.65 กรัม

 

แหล่งที่มา/ประวัติ
ถั่วฝักยาวพันธุ์สิรินธร เบอร์ 1 เป็นถั่วฝักยาวสีม่วงที่ได้จากการผสมข้ามจากพันธุกรรมที่ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยการใช้สายพันธุ์แม่ Y007 มีลักษณะเป็นถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ ฝักสีเขียว ให้ผลผลิตสูง ผสมกับสายพันธุ์พ่อ Y009 ซึ่งเป็นถั่วฝักยาวที่มีฝักยาวสีแดง แต่ผลผลิตต่ำ โดยทำการผสมข้ามในปี พ.ศ. 2551 ทำการคัดเลิอกพันธุ์ ณ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 6 รอบ ได้ถั่วฝักยาวที่มีลักษณะแตกต่างจากเดิมและมีความคงที่ทางพันธุกรรม จากนั้นทำการปลูกทดสอบและเก็บข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ร่วมกับสายพันธุ์อื่นๆ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามมงกุฎราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงคัดเลือกพันธุ์ ดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ณ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นทำการปลูก ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งถวายรายงานข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ พระองค์ได้ทรงพระราชทานนามว่า “ถั่วฝักยาวพันธุ์สิรินธรเบอร์ 1” เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

– ระยะเวลาในการปลูกและเก็บผลผลิต
ระยะเวลาในการปลูกใช้เวลา 50-60 วัน
สามารถเก็บผลผลิตได้ในวันที่ 60-70 วันของการปลูก

– สรรพคุณ
ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน, ฟอสฟอรัสมีส่วนช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนวิตามินซีช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคหวัด

– ข้อควรระวัง
สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก ไม่ควรนำมาเมล็ดของถั่วฝักยาวมารับประทาน