ธงชัยเฉลิมพล
“ธงชัยเฉลิมพล เป็นธงประจำหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
ธงชัยเฉลิมพล ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์สูงสุด ที่ทหารทุกคนจะต้องเคารพสักการะและพิทักษ์รักษาไว้ด้วยชีวิต การปฏิบัติที่เกี่ยวกับธงชัยเฉลิมพล ทุกขั้นตอน ต้องเป็นไปตามพิธีการระเบียบแบบแผนที่วางไว้อย่างเข้มงวดกวดขันและโอกาสที่จะเชิญออกประจำ จะต้องเป็นพิธีการที่สำคัญเกี่ยวกับเกีรยติยศ และเชิดหน้าชูตาเท่านั้น เช่นพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนและไปราชการสงครามเป็นต้น
ธงชัยเฉลิมพล เริ่มมีในกองทัพบกแต่เดิมจำแนกได้เป็น ๒ ชนิด ชนิดแรกคือธงชัยเฉลิมพลกองทัพบก อันได้แก่ ธงจุฑาอุปไตย และ ธงมหาไพยนต์ธวัช และ ธงชัยเฉลิมพลชนิดที่ ๒ คือ ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร ซึ่งองค์พระมหากบัตริย์จะโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นพระราชทานเป็นคราวๆ ละหลายธงและให้คราวหนึ่งๆ ธงจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันจะผิดที่เป็นนามหน่วยเท่านั้น
“ธงชัยเฉลิมพล” ได้เข้าพิธีสำคัญทางศาสนาในพระราชพิธีตรึงหมุด ธงชัยเฉลิมพลโดยองค์พระมหากษัตริย์ทรงประกอบพิธีนี้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในพระบรมมหาราชวังท่ามกลางพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ พระมหากษัตริย์ทรงตรึงผ้าธงแต่ละผืนติดกับด้ามธง โดยทรงตอกค้อนเงินลงบนตระปูทองเหลืองหัวโต ๆ ธงหนึ่งประมาณ ๓๒ – ๓๕ อย่างแน่นและส่วนบนของด้ามธงจะมีลักษณะเป็นปุ่มโลหะกลึงกลมสีทองภายในกลวง ปุ่มกลมนั้นทำเป็นฝาลม ปิด – เปิดได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงบรรจุเส้นพระเจ้า พร้อมด้วยพระพุทธรูปที่ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ชื่อ พระยอดธง ลงในปุ่มกลม แล้วทรงปิดฝาเกลียวผนึกแนว เสร็จแล้วทรงเจิมแป้งแจะจันทน์ที่ยอดธงทุกด้าม พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาตั้งแต่เริมพิธีจนเสร็จพิธี
ความหมายสำคัญของธงชัยเฉลิมพล ปรากฎสามประการคือ ธงหมายถึง ชาติ บนยอดธงบรรจุพระพุทธรูป หมายถึง พระพุทธศาสนา และเส้นพระเจ้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมายถึง พระมาหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงกระทำพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพลให้กับหน่วยต่างๆ
หน่วยทหารทุกกรมกองทหารทุกคนระลึกอยู่เสมอว่าธงชัยเฉลิมพลจะปลิวสะบัดเป็นมิ่งขวัญอย่างสง่างามตลอดไปตราบเท่าประเทศไทยของเหล่าดำรงเป็นหน้าที่ที่ทหารจะต้องระวังรักษาธงนั้นไว้ด้วยความเคารพและความรักเป็นอย่างยิ่ง