กระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ชื่อสามัญ Okra, Lady’s finger, Gombo, Gumbo, Bendee, Quimbamto แต่ในอินเดียจะเรียกกระเจี๊ยบเขียวว่า บินดี (Bhindi) ส่วนประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนจะเรียกว่า บามี (Bamies)

กระเจี๊ยบเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

กระเจี๊ยบเขียว กับลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชยืนต้น มีอายุประมาณ 1 ปี ลำต้นสูงประมาณ 40 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ตามลำต้นจะมีขนสั้น ๆ หลายสี แตกต่างกันตามสายพันธุ์ ใบเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งแต่ก้านใบสั้นกว่า ดอกกระเจี๊ยบเขียวจะเป็นสีเหลือง โคนดอกด้านในสีออกม่วง ๆ ส่วนฝักกระเจี๊ยบเขียวมีรูปเรียวยาว ปลายฝักแหลม ตัวฝักจะมีทั้งแบบฝักกลมและฝักเหลี่ยม ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 80-200 เมล็ด ตัวเมล็ดมีลักษณะกลมรีขนาดเดียวกับถั่วเขียว

 

กระเจี๊ยบเขียว
– ระยะเวลาในการปลูกใช้เวลา 45-50 วัน
– สามารถเก็บผลผลิตได้ในวันที่ 50-55 วันของการปลูก
– สรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และคนที่กำลังควบคุมน้ำตาล-น้ำหนัก, ลดอาการท้องผูก เพราะมีเมือกที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวขึ้น และยังมีใยอาหารที่ดีต่อการขับถ่าย, ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะอาหาร เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ และลำอักเสบได